ขนมน้ำดอกไม้ เป็นอีกหนึ่งเมนูขนมหวานไทยที่วัตถุดิบและขั้นตอนไม่ยุ่งยาก แถมใช้เพียงแป้งเป็นวัตถุดิบหลัก แต่กลับหาทานได้ยากในปัจจุบัน ซึ่งตัวขนมจะมีลักษณะโดดเด่นอยู่ที่รูตรงกลาง มีสีสันพาสเทลที่ทำมาจากสีผสมอาหารให้มีรูปร่างหน้าตารับประทานมากยิ่งขึ้น ให้กลิ่นความหวาน หอม เนื้อสัมผัสที่เหนียวนุ่ม เหมาะแก่เป็นของหวานตบท้ายหลังรับประทานอาหารเสร็จ
ทำความรู้จักและขั้นตอนการทำ ขนมน้ำดอกไม้ เมนูขนมไทย สีสันน่ารัก ทำได้ไม่ยาก
ทำความรู้กับ “ขนมน้ำดอกไม้” หรือมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “ขนมชักหน้า” ในปัจจุบันมักจะหาทานได้ค่อนข้างยาก จุดเด่นของตัวขนมจะทำมาจากแป้ง น้ำตาล มีลักษณะของรูตรงกลาง เป็นชิ้นเล็กสามารถทานได้พอดีคำ มีสีสันที่น่ารับประทาน ซึ่งในอดีตมักจะใช้สีจากธรรมชาติ อาทิ สีม่วงดอกอัญชัน สีเขียวใบเตย แต่ในปัจจุบันก็สามารถใช้สีผสมอาหารแทนได้
ไม่เพียงแค่รูปลักษณ์หน้าตาของขนมที่ชวนน่ารับประทาน แต่กลิ่นของขนมก็ช่วยน่ารับประทานเช่นกัน ที่ได้กลิ่นของดอกมะลิเบาๆในตัวขนม เพราะจะใช้น้ำลอยดอกมะลิมาใช้ทำขนม จะยิ่งทำให้น้ำดื่มหรือน้ำที่ใช้ทำขนม ได้กลิ่นของดอกมะลิเบาๆเป็นกลิ่นหอมจากธรรมชาติ จึงเป็นที่มาของชื่อขนมน้ำดอกไม้ที่ใช้เรียกกันในปัจจุบันนั้นเอง
ในเรื่องของเนื้อสัมผัสของขนมน้ำดอกไม้ เมื่อได้รับประทานเข้าไปแล้วจะเป็นขนมที่เหนียวนุ่มไม่ฝืดคอจนเกินไป สามารถให้ผู้ที่รับประทานเข้าไปสามารถทานได้เรื่อยๆ ด้วยวัตถุดิบที่ไม่เยอะมีเพียงหลักๆคือแป้งกับน้ำตาล แต่กับเข้ากันอย่างลงตัว ไม่เพียงแต่ทำทานกันในครอบครัว ขนมตัวนี้ยังไว้ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานบุญต่างๆได้อีกด้วย จึงจัดเป็นเมนูของหวานไทยโบราณอีกหนึ่งเมนูที่ไม่ควรหายไป
ดังนั้นวันนี้แอดจึงจะมาแจกสูตรที่ไม่ลับของขนมน้ำดอกไม้ หรือขนมชักหน้า มาทำให้ชนิดหวานไทยชนิดนี้มันยังคงอยู่กับเราในปัจจุบันกันเถอะ เพราะขั้นตอนของการทำไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด วัตถุดิบก็ไม่เยอะ ไม่เปลืองต้นทุนแน่นอน ทำง่ายแถมประหยัดวัตถุดิบ บอกเลยว่าถ้านำไปทำขายอีกหนึ่งช่องทางอาจจะมีกำไรนิดๆหน่อยๆติดกระเป๋ากลับมาด้วยนะทุกคน ไม่รอช้าไปดูวิธีทำขนมกันเลย
วัตถุดิบของขนมน้ำดอกไม้
1. แป้งข้าวเจ้า ½ ถ้วย
2. แป้งมัน 2 ช้อนโต๊ะ
3. น้ำลอยดอกมะลิ ¾ ถ้วย (ใช้น้ำเปล่าผสมกลิ่นดอกมะลิแทนได้)
4. น้ำตาลทราย ¼ ถ้วย
5. สีผสมอาหารสีเขียวและสีชมพู (เลือกสีที่ชอบได้เลย)
ขั้นตอนการทำขนมน้ำดอกไม้
1. ตั้งไฟกลางตั้งน้ำลอยมะลิที่เตรียมไว้ให้ร้อน ดับไฟแล้วใส่น้ำตาลลงไปคนจนกว่าน้ำตาลจะละลาย หลังจากนั้นพักน้ำเชื่อมทิ้งไว้
2. มาทำในส่วนของแป้งต่อ นำแป้งข้าวเจ้าและแป้งมัน มันร่อนให้เป็นเนื้อเดียวกัน
3. ให้นำน้ำเชื่อมที่พักไว้เทใส่ลงไปในแป้งที่ร่อนเสร็จแล้ว ใช้ตะกร้อคนคนให้เข้ากัน (ในส่วนนี้หากใครไม่ได้ใช้น้ำลอยดอกมะลิแต่แรก สามารถหยดกลิ่นดอกมะลิลงไปได้)
4. พอได้แป้งคนกันจนเข้าที่แล้ว ให้แบ่งแป้งเป็นสองส่วนเพื่อที่จะได้ใส่สีผสมอาหารลงไป (ในขั้นตอนนี้แนะนำว่าควรหยดลงไปน้อยที่สุด เพราะตัวขนมน้ำดอกไม้จะมีลักษณะสีค่อนข้างอ่อนไปทางพาสเทล)
5. จะเตรียมขนมใส่ตะไล ให้นำตะไลเปล่าไปนึ่งในน้ำเดือดก่อนเสียก่อนประมาณ 10 นาที (ขั้นตอนนี้จะทำให้ตัวขนมไม่ติดตะไลเมื่อนึ่งเสร็จ และขณะที่เปิดฝาควรจะรีบเอาขึ้นทันที เพราะจะทำให้น้ำใต้ฝาหยดลงไปในถ้วยตะไลได้)
6. ให้ตั้งหม้อนึ่งด้วยไฟอ่อน เพื่อที่จะนำแป้งมาหยอดใส่ในถ้วยตะไล หยอดเสร็จแล้วให้เร่งเป็นไฟแรงได้เลย แล้วนึ่งทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที เสร็จแล้วก็พักให้ขนมหายร้อนแล้วจัดเสิร์ฟได้
จบไปแล้วสำหรับที่มาและขั้นตอนการทำขนมน้ำดอกไม้ พออ่านมาถึงตรงนี้รู้เลยใช่หรือเปล่าว่าการเตรียมวัตถุดิบไม่เยอะเลย แทบจะน้อยสุดในเมนูขนมหวานไทยก็ว่าได้แล้ว ยิ่งเจอขั้นตอนเข้าไปเตรียมแค่ 2-3 อย่างก็นำขนมเข้าที่นึ่งได้แล้ว หวังว่าวันหยุดสุดสัปดาห์เพื่อนๆไม่ได้ทำอะไร ก็อย่าลืมลองทำเมนูของหวานชนิดนี้ดูบ้างนะคะ
ขอบคุณรูปจาก cooking.kapook.com
อ่านบทความ ขนมอินทนิล (ขนมหยกสด) เมนูขนมไทยโบราณ หอมนุ่ม หวานมัน
Credit : ต้นไม้, สัตว์เลี้ยง, ที่พัก, เสริมสวย, แฟชั่นผู้หญิง, เครื่องสำอาง